Monday , December 23 2024

ย้อนดูโรคระบาดใหญ่ในเวียดนาม ก่อนเตรียมพร้อมรับมือ ‘โควิด-19’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั่วโลกชื่นชมเวียดนามที่สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ได้ดี

องค์การอนามัยโลกชื่นชมความพยายามและมาตรการรับมือต่างๆของเวียดนาม โดยยืนยันว่า เวียดนามได้มีการรับมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาด พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลอย่างเปิดเผยและโปร่งใส โดยเฉพาะมาตรการแยกตัว การปิดกั้นพื้นที่และการรักษาผู้ติดเชื้อให้หายดี รวมทั้งได้ประสานงานเป็นอย่างดีกับทุกประเทศในการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดในระดับโลก

หากย้อนกลับไปดูโรคระบาดในเวียดนาม ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2497 รายงานการเกิดโรคระบาดในเอเชียโดยเฉพาะในเมียนมาร์และเวียดนาม มีรายงานผู้ป่วยจากโรคระบาดทุกปีระหว่างปีพ.ศ. 2497 ถึง 2528 สำหรับเวียดนาม การระบาดใหญ่เกิดในช่วงสงครามเวียดนามและระบาดหนักในช่วงปลายยุค 90 และต้นยุค 2000

การระบาดช่วงต้นทศวรรษ 1980 (2523)

ในเวียดนาม โรคระบาดที่พบบ่อยที่สุดคือมาลาเรียและวัณโรค นอกจากนี้ ในเมืองหลวงอย่างฮานอยยังพบโรคกามโรค ข้อมูลช่วงทศวรรษ1970 (2513) จะยังไม่ค่อยพบโรคระบาดที่ว่ามากนักในเวียดนามตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527 รัฐบาลยอมรับว่าอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ 2519 โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ

มีข้อมูลอ้างว่า เวียดนามได้กำจัดอหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และไทฟอยด์ในเวียดนามตอนเหนือได้เร็วในช่วงปี 2502 แต่จากรายงานการประเมินผลอย่างเป็นทางการกลับพบอัตราการเสียชีวิตของโรคไข้ทรพิษและโรคติดเชื้อเช่นวัณโรคในอัตราสูงอยู่ พบการเสียชีวิตจากวัณโรคประมาณร้อยละ 1 ของประชากร หรือเกือบ 600,000 คนต่อปี แม้ว่าอัตราลดลงจากร้อยละ 1.7 ที่รายงานในปี 2519 ซึ่งบ่งชี้ว่าโรคเหล่านี้ยังไม่ได้รับการควบคุมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรเวียดนามที่ป่วยในหลาย ๆ พื้นที่กว่าร้อยละ 92 ได้รับการตรวจพบว่ามีโรคหนึ่งโรคหรือมากกว่านั้น และสาเหตุสำคัญเกิดจากสุขอนามัย ความชุกของการแพร่ระบาดของโรคแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้แนะนำโปรแกรมเพื่อปรับปรุงด้านสุขอนามัยของประชากร สถานีอนามัย ได้ถูกจัดตั้งขึ้นทุกอำเภอและมีการรณรงค์เรื่องน้ำสะอาดและอนามัยสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมให้ชาวบ้านขุดบ่อน้ำและสร้างถังบำบัดน้ำเสีย แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรนโปลิโอ วัณโรคและโรคหัดเป็นประจำ

ความพยายามต่อต้านวัณโรคในเวียดนาม

วัณโรคเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในเวียดนาม จากข้อมูลของ USAID ในแต่ละปีคาดว่าเวียดนามมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรค 17,000 คน ผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นในเวียดนาม ทำให้เร่งการวิจัยพัฒนาและหาทางลดอุบัติการณ์ของโรค ด้วยโครงการฉีดวัคซีนที่เข้มข้นขึ้น สุขอนามัยที่ดีขึ้น และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เวียดนามหวังว่าจะลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและการติดเชื้อวัณโรคใหม่ทุกปี

ในปี 2538 รัฐบาลเวียดนามเปิดตัวโครงการต่อต้านวัณโรคระดับชาติที่งบประมาณมากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี ธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือโครงการต่อต้านวัณโรคด้วยจำนวน 16.5 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลาห้าปีเริ่มต้นในปี 2541 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยังมอบเงินจำนวน 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อต่อสู้กับโรคนี้ในอีกห้าปีข้างหน้า จากความช่วยเหลือต่างๆเวียดนามได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดประเทศที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับวัณโรคโดยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การยอมรับผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า 70% และรักษามากกว่า 85% อย่างไรก็ตาม วัณโรคยังคงเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญในเวียดนาม มีผู้ป่วยวัณโรคใหม่เกือบ 200,000 รายและมีผู้เสียชีวิต 30,000 คนต่อปี หนึ่งในความท้าทายในการต่อสู้กับวัณโรคของเวียดนามคือผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมากที่ทนต่อยารักษาโรค ปัจจุบันเวียดนามมีผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อยา 5,000-6,000 คนและคาดว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่สามารถรักษาได้มีมากถึงร้อยละ 20 เนื่องจากการดื้อยา

ไข้เลือดออกระบาดหนักตอนใต้ของเวียดนาม

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาใหญ่ในเวียดนาม การระบาดหนักในช่วงปี 2547 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 33 คนและมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 16,650 ราย เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี2546 ไข้เลือดออกพบมากในเวียดนามตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณนครโฮจิมินห์และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทำให้ตลอดช่วงปี 2547 การระบาดร้อยละ 90ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเวียดนามใต้ การระบาดมีแนวโน้มมากที่สุดในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกในเวียดนามจากตัวเลขกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 คน ทุกปี มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่าการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ในเวียดนามเมื่อปี 2512 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นทุก ๆ สามหรือห้าปีตามรายงานของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การะบาดสูงสุดเกิดขึ้นในปี 2541 มีผู้ป่วยในเวียดนามกว่า 235,000 ราย เสียชีวิต 383 ราย อย่างไรก็ตาม เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สาธารณสุขในพื้นที่สนับสนุนให้คนเวียดนามฆ่ายุงและลูกน้ำอย่างแข็งขันมากขึ้น มีการใช้สารเคมีเพื่อฆ่าแมลงมากขึ้นในเวียดนาม
null

Check Also

12 พ.ค.นี้ เชิญรับชม FB Live “วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 7 กลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนฟรี”

12 พ.ค.นี้ สปสช. ชวนประชาชนร่วมฟังเสวนา FB Live “วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทางรอดใหม่จากโควิด-19” รับทราบข้อเท็จจริง ให้ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ลดความกังวลท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 รู้ถึงความจำเป็น 7 กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่