จากการศึกษาล่าสุด สารสกัดจากผลไม้ที่ชื่อว่า ทุเรียนเทศ (Graviola) หรือเรียกว่า Guyabano สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ 12 ชนิด การศึกษาได้พบอีกว่าสารสกัดจากผลไม้ชนิดนี้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งตับอ่อน ซึ่งการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้สามารถเขย่าวงการการรักษาโรคมะเร็งเลยทีเดียว
ทุเรียนเทศ ได้พิสูนจ์ให้เห็นว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งตับอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญ มันช่วยลดขนาดก้อนเนื้อและเปลี่ยนเมตาบอลิซึมของเซลล์มะเร็งตับอ่อน ซึ่งถูกค้นพบโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเนบราสก้า
และอีกหนึ่งการทดลองจำนวนกว่าหนึ่งหมื่นครั้งในห้องปฏิบัติการก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสารสกัดจากทุเรียนเทศ มีประสิทธิภาพมากในการกำจัดเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่มีคุณสมบัติที่มากกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดทั่วๆ ไป และเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดผลไม้ชนิดนี้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้โดยไม่ส่งผลข้างเคียงใดๆ ให้กับสุขภาพร่างกาย
ส่วนมะเร็งปากมดลูก ทุเรียนเทศ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ดีเลิศอีกเช่นกัน รวมทั้งการศึกษาอื่นๆ ก็ยังแสดงให้เห็นว่าผลไม้ชนิดนี้สามารถหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
ตามข้อมูลจากการศึกษาการบริโภคอาหาร GFE เรียกได้ว่ามันช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของเซลล์มะเร็งเต้านมกลุ่ม(MDA-MB-468) ซึ่งได้ทำการทดลองจากหลอดทดลองและจากการศึกษาร่างกายผ่านกลไกที่ประกอบไปด้วย EGFR / ERK ที่ส่งสัญญาณว่าช่วยป้องกันมะเร็งชนิดนี้ได้ดีมากในผู้หญิง
และผลการป้องกันมะเร็งของทุเรียนเทศยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ทุเรียนเทศยังได้แสดงให้เห็นว่ามันสามารถเอาชนะมะเร็งปากมดลูกได้เป็นอย่างดีและการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าผลไม้ชนิดนี้สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้อย่างน่ามหัศจรรย์
ความลับของผลไม้ชนิดนี้เกิดจากการปรากฏตัวของสารอะซีโทจีนิน (acetogenins) สารที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ NADH ของเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งและสามารถหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็ง นอกจากนี้มันยังมีสารอาหารจากพืช เช่น friedelin, แอนโนเนอีน (anonaine), เควอซิทิน (Quercetin), xylopine, isolaureline, anomurine, แคมพ์เฟอรอล (kaempferol) , annonamine และ asimilobine
นอกจากนี้ ในรายงานการวิจัยของประเทศกานา ยังพบว่า หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดใบทุเรียนเทศในปริมาณสูงมีผลต่อการทำงานของไต ดังนั้น การนำทุเรียนเทศมาใช้บำบัดโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ยังต้องผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยอีกมาก เช่น กลไกออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารสำคัญออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย