สรุปศบค. พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มพุ่ง 53 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักขังในศูนย์ฯที่อ.สะเดา จ.สงขลา ชี้ “กลุ่มแรงงานต่างด้าว” เป้าหมายใหม่ต้องเร่งตรวจ
วันที่ 25 เมษายน นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 วันนี้ (25 เม.ย.) ไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 53 คน ยอดรวมผู้ติดเชื้อสะสม 2,907 คน
-รักษาหายเพิ่ม 57 คน รวมรักษาหาย 2,547 คน
-ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลเหลือ 309 คน
-วันนี้ไม่มีผู้เสียเพิ่ม 1 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 51 คน
รายละเอียดผู้เสียชีวิตรายที่ 51 นั้น เป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 48 ปี อาชีพรับจ้าง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัว 4 รายที่ติดเชื้อก่อนหน้า โดยน้องชายทำงานในสถานบันเทิง ซึ่งเมื่อมีอาการป่วยได้เข้ารับการรักษาด้วยอากาศไข้ ก่อนที่ต่อมาอาการแย่ลง จนเสียชีวิตด้วยภาวะการหายใจล้มเหลว
รายละเอียดผู้ป่วยใหม่ 53 คน แยกเป็นสองกลุ่ม คือ
กลุ่มแรก 42 คน แรงงานต่างด้าว ในศูนย์กักขังตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นชาวเมียนมา 34 คน เวียดนาม 3 คน มาเลเซีย 2 คน เยเมน 1 คน กัมพูชา 1 คน อินเดีย 1 คน
กลุ่มสอง 11 คน จากการตรวจกลุ่มเสี่ยงในประเทศ แบ่งเป็น
-สัมผัสผู้ป่วยรายเดิม 3 คน
-ไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด แหล่งท่องเที่ยว 1 คน
-จากการค้นหาในเชิงรุกชุมชน ( จ.ยะลา) 7 คน
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน กล่าวว่า กรณีที่พบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน ในศูนย์กักขัง ตรวจคนเข้าเมือง (แรงงานต่างด้าว) ที่อ.สะเดา จ.สงขลา 42 รายนั้น เกิดจากการเรียนรู้จากประเทศสิงค์โปร์ที่มีการพบผู้ติดเชื้อในกลุ่มแรงงาน จึงได้มีการค้นหาเชิงรุกในกลุ่มคนดังกล่าว รวมถึงการรที่ประกาศเขตโรคติดต่ออันตรายเพิ่ม 5 ประเทศ คือ มาเลเซีย กัมพูชา สปป.ลาว อินโดนีเซีน เมียนมา ทำให้มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
“แรงงานทั้งหลายเป็นกลุ่มที่เราให้ความสำคัญมาตั้งแต่ตอนต้น มาเจอตรงนี้ก็ไม่ได้ผดไปจากข้อที่เราตั้งแผนวางไว้เท่าไหร่หนัก” นพ.ทวีศิลป์กล่าว
สูบบุหรี่เสี่ยงอาการหนัก
ประเด็นที่องค์การอนามัยโลกเตือนผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสติดเชื้อ และเสี่ยงมีอาการมากกว่าคนปกตินั้น นพ.ทวีศิลป์ อธิบายว่า เสี่ยงกว่าคนปกติแน่นอนอยู่แล้วสืบเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น กรณีชุดพฤติกรรมของผู้สูบ ที่อาจมีการรวมกลุ่ม การสัมผัสมวนบุหรี่ร่วมกัน รวมถึงกรณีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งควันที่ออกมาก็อาจจะมีละอองฝอยปะปนอยู่ กรณีที่ผู้สูบติดเชื้อก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้
เมื่อพิจารณาปัญหาสุขภาพของผู้สูบบุหรี่โดยปกติ ที่มีสารนิโคตินเคลือบปอดก็จะทำให้การทำงานของปอดไม่ดี พื้นที่ปอดน้อย เชื้อโรคก็อาจเกาะจับได้ง่าย ยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่มานานก็อาจจะมีโรคร่วมอยู่แล้ว เช่น ถุงลงโป่งพอง เป็นต้น
“ต้นทุนที่ต่ำกว่าคนอื่น พอเจอเชื้อโรคเข้าไปรับไม่ได้ก็แพ้ภัยเท่านั้นเอง” นพ.ทวีศิลป์กล่าว